วิทยาศาสตร์ระดับประถม สารบัญ


ประกอบด้วย ราก, ใบ, ลำต้น, ดอก, ผล เป็นต้น

ราก

หน้าที่

  1. ดูดและลำเลียงน้ำ และแร่ธาตุ
  2. ค้ำจุนส่วนต่างๆของพืชให้ทรงตัวได้
  3. หน้าที่พิเศษ เช่น
    • รากสะสมอาหาร เช่น หัวแครอท, หัวไชเท้า, หัวผักกาด, กระชาย, มันเทศ
    • รากสังเคราะห์แสง เช่น รากกล้วยไม้ (ส่วนที่มีสีเขียว)
    • รากหายใจ เช่น รากลำพู แสม โกงกาง

โครงสร้างของราก

การเจริญเติบโตของรากจะเจริญในทิศทางตามแรงโน้มถ่วง

ชนิดของราก

แบ่งได้เป็น 3 ชนิด

  1. รากแก้ว (Primary Root/Tap Root) งอกออกจากเมล็ด รากแก้วจะมีขนาดใหญ่ ช่วยยึดค้ำ?จุนต้น
  2. รากแขนง (Secondary Root/Lateral Root) รากที่เจริญของรากแก้ว จะเจริญขนานไปกับพื้นดิ
  3. รากพิเศษ(Adventitious Root) งอกจากส่วนต่างๆของพืช เช่น รากฝอย (Fibrous root) เป็นรากที่งอกจากโคนลำต้นเพื่อแทนรากแก้วที่ฝ่อไป พบในพืชใบเลี้ยงเดี่ยว

ลำต้น

ป็นส่วนของพืชที่เจริญขึ้นโดยส่วนใหญ่จะเป็นทิศตรงข้ามกับแรงดึงดูดของโลก

ส่วนประกอบของลำต้น


  • ข้อ คือ ส่วนประกอบของลำต้นบริเวณที่มีใบ กิ่งและตาเจริญงอกออกมา
  • ปล้อง คือ ส่วนของลำต้นที่อยู่ระหว่างข้อ
  • ตา คือ มีลักษณะนูนโค้งคล้ายโดม ตาจะสามารถเจริญไปเป็น กิ่ง ใบหรือดอก
<

หน้าที่ของลำต้น

  • แกนพยุงชูกิ่ง ก้าน ใบและดอกให้ได้รับแสงอาทิตย์
  • มีเนื้อเยื่อเป็นท่อลำเลียงน้ำและแร่ธาตุจากรากไปสู่ใบ และมีเนื้อเยื่อเป็นท่อลำเลียงอาหารจากใบไปส่วนต่างๆของพืช
  • หน้าที่พิเศษ เช่น
    • ลำต้นขยายพันธุ์ เช่น คุณนายตื่นสาย ขิง ข่า ลีลาวดี
    • ลำต้นสังเคราะห์ด้วยแสง เฉพาะพืชที่มีลำต้นเป็นสีเขียว เช่น กระบองเพชร
    • ลำต้นสะสมอาหาร เช่น ขิง ข่า ขมิ้น มันฝรั่ง เผือก

การจำแนกลำต้น

คำถาม

นักเรียนจะสามารถแยกรากและลำต้นใต้ดินออกจากกันได้อย่างไร

ใบ

  • เป็นส่วนที่เจริญมาจาก “ตา” ตรงข้อของลำต้นหรือกิ่ง
  • ส่วนใหญ่มีสีเขียวของ”คลอโรฟิลล์” (มีหน้าที่รับพลังงานแสงและนำปใช้ในกระบวนการ สังเคราะห์ด้วยแสง)
  • ด้านที่หันเข้าหาแสงอาทิตย์เรียกว่า “ด้านท้องใบ” ส่วนอีกด้านเรียกว่า “ด้านหลังใบ”
  • พืชบกมักจะพบ “ปากใบ”ที่บริเวณด้านหลังใบมากกว่าด้านท้องใบ
  • ปากใบ คือ รูที่อยู่ระหว่างเซลล์คุมที่ควบคุมการปิด-เปิดของปากใบ ปากใบจะเป็นทางผ่านเข้าออกของ แก๊ส และ น้ำ (การคายน้ำ)

พืชลอยปริ่มน้ำ ปากใบอยู่ด้านท้องใบ

ดอก

นักวิทยาศาสตร์จำแนกพืชโดยใช้ “ดอก” เป็นเกณฑ์ในการจำแนก

  • พืชชั้นสูง (พืชมีดอก) เช่น ชบา, กุหลาบ, มะลิ, บัว เป็นต้น
  • พืชชั้นต่ำ (พืชไร้ดอก) เช่น ข้าวตอกฤาษี, ตะไคร่น้ำ, มอส, เฟิร์น, สน, ผักกูด, ผักแว่น เป็นต้น
ดอก ส่วนใหญ่มีหน้าที่คือ “สืบพันธุ์” เป็นการสืบพันธุ์แบบอาศัยเพศ
  • อับเรณู: ภายในมี “ละอองเรณู (ทำหน้าที่สร้างเซลล์สืบพันธุ์เพศผู้)” จำนวนมาก
  • ยอดเกสรตัวเมีย: จะมีขนเล็กๆ และมีน้ำหวานเหนียว สำหรับดักจับ ละอองเรณูและน้ำหวานยังเป็น อาหารสำคัญสำหรับการงอกหลอดละอองเรณู
  • รังไข่: จะมีออวุลอยู่ ภายในออวุลจะเป็นที่สร้างเซลล์ไข่
  • การจำแนกดอก

    การลำเลียงน้ำและอาหารของพืช

    • พืชใช้...............................ในการดูดซึมน้ำและแร่ธาตุ
    • พืชจะมีระบบเนื้อเยื่อลำเลียงน้ำและแร่ ธาตุเรียกว่า “ไซเล็ม (Xylem)”
    • พืชจะมีระบบเนื้อเยื่อสำหรับลำเลียงอาหารที่เรียกว่า “โฟลเอ็ม (Phloem)”

    กระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสง

    พืชจัดเป็น “ผู้ผลิต” ในระบบนิเวศเพราะสามารถนำพลังงานแสงอาทิตย์มาสังเคราะห์อาหารจากแร่ธาตุที่มีอยู่ในธรรมชาติ

    • การสังเคราะห์ด้วยแสง : เปลี่ยนพลังงานแสง เป็น พลังงานเคมี
    • การสังเคราะห์ด้วยแสงคือ กระบวนการสร้างอาหารของพืช
    • อาหารที่พืชสร้างได้คือ “น้ำตาลกลูโคส” ซึ่งพืชจะเก็บสะสมในรูป “แป้ง” และ แป้งจะถูกเปลี่ยนเป็น “น้ำตาลกลูโคส” เมื่อพืชต้องการสลายน้ำตาลเป็นพลังงาน
    • ตอนกลางวันที่มีแสง พืชจะใช้ “คาร์บอนไดออกไซด์” และปล่อยแก๊ส “ออกซิเจน”
    • พืชจะคาย “น้ำและแก๊สออกซิเจน” ออกมาทางปากใบ

    การจำแนกพืช (ตามจำนวนใบเลี้ยง)

    พืชสามารถจำแนกได้ตามจำนวนใบเลี้ยงออกเป็น “ใบเลี้ยงเดี่ยว” และ “ใบเลี้ยงคู่”



















    --