วิทยาศาสตร์ระดับประถม สารบัญ


  • ดินเป็นสิ่งแวดล้อมที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ เกิดจากการสลายตัวผุพังของหินชนิดต่างๆ และเมื่อรวมกับซากพืชซากสัตว์ น้ำและอากาศ จะกลายเป็นเนื้อดิน ซึ่งต้องใช้เวลานาน
  • ชนิดของดิน จำแนกตามลักษณะเนื้อดินได้ 3 ประเภท ได้แก่ ดินเหนียว ดินร่วน และดินทราย
    อนุภาคของดินจะรวมกันเป็นเม็ดดิน อนุภาคจะมีขนาดแตกต่างกัน
    อนุภาคดินเหนียว < อนุภาคทรายแป้ง < อนุภาคทรายเนื้อดิน
    ดินเหนียว ดินร่วนและดินทรายจะมีอนุภาคเหล่านี้ผสมในสัดส่วนที่แตกต่างกัน
  • ชนิดของดิน ลักษณะดิน การระบายน้ำและอากาศ การอุ้มน้ำ การนำไปใช้ปลูกพืช
    ดินเหนียว ดินที่เปียกจะมีความยืดหยุ่น สามารถนำมาปั้นและคลึงได้ ไม่ดี ได้ดี เหมาะกับการปลูกพืชที่ต้องการใช้น้ำมาก เช่น ข้าว, บัว
    ดินทราย ดินหยาบ ไม่เหนียวเหนะหนะ และไม่จับเป็นก้อน ดี ต่ำ มีความอุดมสมบูรณ์ต่ำ ไม่ค่อยเหมาะกับการปลูกพืชทั่วไป แต่เหมาะกับการปลูกพืชที่ต้องการน้ำน้อย เช่น มะพร้าว, ตะบองเพชร เป็นต้น
    ดินร่วน เนื้อดินค่อนข้างละเอียด นุ่มมือ ปานกลาง ปานกลาง มีซากพืชซากสัตว์อยู่มาก จึงเหมาะกับการปลูกพืชต่างๆได้ดี เช่น พืชผักสวนครัว

    องค์ประกอบของดิน

    • อากาศ 25%
    • น้ำ 25%
    • สารอินทรีย์ 5 %
      ส่วนที่เกิดจากสลายตัวของซากพืชซากสัตว์
    • สารอนินทรีย์ 45%
      ส่วนของแร่ธาตุที่เกิดจากการผุพังของหิน
    ชั้นดิน
    ประโยชน์ของดิน
    • ประโยชน์ต่อการเกษตรกรรม เช่น การเพาะปลูก, การเลี้ยงสัตว์
    • เป็นแหล่งที่อยู่อาศัย
    • เป็นแหล่งกักเก็บน้ำ
    ปัญหาทรัพยากรดิน
    • การตัดไม้ทำลายป่า การเผาป่า ทำให้หน้าดินถูกชะล้างได้ง่ายโดยน้ำและลมเมื่อฝนตกลงมา
    • การเพาะปลูกและเตรียมดินที่ไม่ถูกวิธีจะก่อความเสียหายกับดินได้ เช่น การไถพรวนขณะดินแห้งทำ ให้หน้าดินถูกชะหรือหลุดลอยไปกับลมได้ง่าย หรือการปลูกพืชบางชนิดจะทำให้ดินเสื่อมสภาพ การใช้ปุ๋ยเคมีมากเกินไปทำให้คุณภาพของดินเปลี่ยนแปลงไป
    • การตั้งบ้านหรือโรงงานในแหล่งที่มีดินสมบูรณ์และเหมาะสมกับการเพาะปลูก
    การอนุรักษ์ดิน
    • การดูแลรักษาป่า ไม่ทำไร่เลื่อนลอย ไม่เผาป่า
    • ไถพรวนดินอย่างถูกวิธี-เป็นการกลับดินเพื่อทำให้อากาศและน้ำแทรกลงไปในดินได้
    • การรักษาความชุ่มชื้นในดิน-ใช้ฟางหรือใบไม้ที่หาได้ในท้องถิ่นคลุมดิน
    • การปลูกพืชแบบขั้นบันได-สำหรับพื้นที่ลาดเอียงเป็นการป้องกันมิให้เกิดน้ำไหลบ่า ช่วยป้องกันการพังทลายของหน้าดิน
    • การเพิ่มแร่ธาตุอาหารให้แก่ดินด้วยการใส่ปุ๋ย เช่น ปุ๋ยอินทรีย์ เช่น ปุ๋ยหมัก, ปุ๋ยคอก และปุ๋ยพืชสด (ปุ๋ยพืชสด คือ การปลูกพืชตระกูลถั่ว เมื่อต้นถั่วโตขึ้นกำลังออกดอกก็ทำการไถกลบเป็นปุ๋ย)
    • การปลูกพืชหมุนเวียน คือ การปลูกพืชสลับกับการปลูกพืชตระกูลถั่ว เช่น ปลูกข้าวโพดสลับกับปลูกพืชตระกูลถั่ว จะทำให้การเสื่อมโทรมของระดับธาตุอาหารในดินเกิดขึ้นช้าลง
    • การใช้ปูนขาวแก้ดินที่เป็นกรด
    • การใช้ปุ๋ยคอก, กำมะถัน แก้ดินเค็ม (หรือดินที่เป็นเบสหรือด่าง)


















--