วิทยาศาสตร์ระดับประถม สารบัญ


  • โลกห่อหุ้มด้วยชั้นบรรยากาศ
  • แบ่งได้เป็น (แบ่งตามโครงสร้างแนวดิ่งของบรรยากาศ)
Cartoon vector created by GraphicMama - Freepik.com
Designed by katemangostar / Freepik
ชั้นบรรยากาศ รายละเอียด
โทรโพสเฟียร์ (Troposphere)
  • มีความหนาประมาณ 10-15 กิโลเมตร
  • ร้อยละ 80 ของมวลอากาศทั้งหมดอยู่ที่ชั้นนี้
  • เกิดปรากฎการณ์น้ำฟ้าต่างๆ เช่น เมฆ, พายุฝน
สตราโตสเฟียร์ (Stratosphere)
  • จะมีความสงบกว่าชั้นโทรโพสเฟียร์ เครื่องบินจะบินอยู่ที่รอยต่อระหว่างชั้นโทรโพสเฟียร์และสตราโตสเฟียร์ เรียกว่า โทรโพพอส
  • มีแถบโอโซนที่ช่วยดูดกลืนรังสี UV ทำให้ชั้นนี้อุณหภูมิสูง
  • ร้อยละ 19.9 ของมวลอากาศทั้งหมดอยู่ที่ชั้นนี้
มีโซสเฟียร์ (Mesosphere)
  • น้อยกว่าร้อยละ 0.1 ของมวลอากาศทั้งหมดอยู่ที่ชั้นนี้
  • อุกกาบาตจะเกิดการลุกไหม้ เนื่องจากเสียดสีกับอากาศ (แม้ว่ามวลอากาศน้อยแต่ก็มีความหนาแน่นเพียงพอที่จะเกิดการเสียดทานกับอุกกาบาต)
  • อุณหภูมิค่อยๆลดต่ำลงจนถึง -90 oC ที่ระยะความสูง 80 กิโลเมตร
เทอร์โมสเฟียร์(Thermosphere)
  • อุณหภูมิสูงขึ้น
  • ในชั้นนี้อะตอมของไนโตรเจนและออกซิเจนจะเกิดการแตกเป็นประจุ (Ion) บางครั้งจึงเรียกชั้นนี้ว่า ไอโอโนสเฟียร์
  • ชั้นนี้สามารถสะท้อนคลื่นวิทยุ ทำให้สามารถสื่อสารโทรคมนาคม ระยะไกลได้
  • ปรากฏการณ์แสงเหนือ-แสงใต้ เกิดขึ้นที่บรรยากาศชั้นนี้
เอ็กโซสเฟียร์ (Exosphere)
  • เป็นบรรยากาศชั้นนอกสุด
  • มีโมเลกุลอากาศน้อยมาก ส่วนใหญ่คือ ฮีเลียม และไฮโดรเจน
  • ดาวเทียมมักจะอยู่ที่ชั้นนี้เนื่องจากมีแรงเสียดทานกับอากาศน้อย

แก๊สในชั้นบรรยากาศ

  1. ไนโตรเจน (78%)
  2. ออกซิเจน (21%) เป็นผลผลิตจากการสังเคราะห์ด้วยแสง
  3. อาร์กอน (0.9%) เป็นแก๊สเฉื่อยไม่ทำปฏิกิริยากับธาตุอื่นๆ
  4. อื่นๆ (0.1%) เช่น ไอน้ำ, แก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ ฯลฯ - คาร์บอนไดออกไซด์ (0.036%) มีความสำคัญต่อสิ่งมีชีวิต เป็นสารตั้งต้นของกระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสง และทำให้โลกมีอุณหภูมิอบอุ่น

ปรากฏการณ์เรือนกระจก (Greenhouse effect)



ชั้นบรรยากาศมีความสำคัญเพราะทำหน้าที่ป้องกันอันตรายจากรังสี ป้องกันอุกกาบาตที่ตกลงสู่โลก และยังมีแก๊สเรือนกระจกที่ช่วยทำให้อุณหภูมิระหว่างกลางวันและกลางคืนไม่แตกต่างกันมากจนเกินไป

แก๊สเรือนกระจกในบรรยากาศมีสมบัติในการดูดกลืนรังสีอินฟราเรด ทำให้อุณหภูมิของโลกอบอุ่น

ตัวอย่างของแก๊สเรือนกระจกเช่น คาร์บอนไดออกไซด์, มีเทน, ไอน้ำ, ไนตรัสออกไซด์, โอโซน เป็นต้น

สาเหตุที่เรียกว่าเรือนกระจก

เรือนกระจก (Greenhouse) หมายถึง เรือนเพาะต้นไม้ที่มักจะสร้างจากวัสดุโปร่งใส เช่น แก้วและพลาสติก มีคุณสมบัติคือลดการสูญเสียความร้อนทำให้สามารถเก็บรักษาอุณหภูมิภายในเรือนให้สูงได้ ต้นไม้จึงสามารถเจริญเติบโตแม้อากาศภายนอกจะหนาวเย็น โดยโลกของเราก็มีภาวะแบบเดียวกันจึงเรียกปรากฏการณ์นี้ว่า ปรากฏการณ์เรือนกระจก

แต่ทว่าในปัจจุบันกิจกรรมหลายอย่างของมนุษย์ทำให้ปริมาณแก๊สเรือนกระจกเพิ่มสูงขึ้น ส่งผลให้ปริมาณความร้อนที่เข้ามาถูกดูดซับเพิ่มขึ้นและสะท้อนออกสู่อวกาศน้อยลงทำให้อุณหภูมิโลกสูงขึ้น

Map vector created by Freepik
Snowdeer Plant Sun Designed by Freepik
Icon vector created by Freepik
Designed by Freepik


















--