วิทยาศาสตร์ระดับประถม สารบัญ


อาหาร คือ สิ่งที่รับประทานเข้าไปและก่อให้เกิดประโยชน์กับร่างกาย

สารอาหาร คือ สารเคมีที่เซลล์ในร่างกายใช้เพื่อให้เกิดกระบวนการต่างๆในร่างกาย

อาหาร 5 หมู่

คือการจัดสารอาหารที่จำเป็นต่อร่างกาย โดยจัดสารอาหารที่เหมือนกันให้อยู่ในหมวดหมู่เดียวกัน แบ่งได้เป็น 5 หมู่

Food vector created by Nadezhda_grapes - Freepik.com

ธงโภชนาการ

ในแต่ละวันร่างกายต้องการอาหารแต่ละประเภทไม่เท่ากัน ธงโภชนาการคือเครื่องมือที่แสดงกลุ่มอาหารและสัดส่วนการกินอาหารในแต่ละกลุ่มมากน้อยต่างกัน ส่วนปลายแหลมจะเป็นส่วนที่ควรทานแต่น้อย และค่อยๆมากขึ้นจนมาถึงฐานของธงซึ่งร่างกายต้องการมากในแต่ละวัน

Food vector created by Freepik

สารอาหาร

หมายถึง สารเคมีที่เป็นองค์ประกอบในอาหารซึ่งสิ่งมีชีวิตต้องการเพื่อการเจริญเติบโต และการดำรงชีวิต แบ่งได้เป็น

  1. สารอาหารที่ให้พลังงาน
  2. สารอาหารที่ไม่ให้พลังงาน

ความต้องการอาหารในแต่ละวัย

ในแต่ละวัยต้องการอาหารครบทั้ง 5 หมู่ ในปริมาณที่แตกต่างกัน

ช่วงวัย ความต้องการอาหาร
วัยเด็ก ต้องการอาหารประเภท”โปรตีน” มากเพราะร่างกายกำลังเจริญเติบโต โปรตีนมีความ สำคัญต่อการสร้างเนื้อเยื่อ
วัยผู้ใหญ่ ต้องการอาหารทุกประเภทในสัดส่วนที่เหมาะสม
สตรีมีครรภ์ ต้องการอาหารทุกประเภทในปริมาณที่มากขึ้น
วัยสูงอายุ ต้องการอาหารทุกประเภทในสัดส่วนที่น้อยลง

กราฟแสดงอัตราการเจริญเติบโต

อัตราการเจริญเติบโตในมนุษย์จะเป็นรูปตัว S โดยจะเกิดการเปลี่ยนแปลงมากที่สุดในช่วงวัยเด็กตอนกลาง-ตอนปลาย (คือเข้าสู่ช่วงวัยรุ่น)

ตารางแสดงปริมาณโปรตีนที่ต้องการในแต่ละวัน


อายุ (ปี) ปริมาณโปรตีนที่ต้องการในแต่ละวัน (กรัมต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม)
3-12 เดือน 2X
1-6 1.5X
7-12 1.2X
13-20 1X

จากข้อมูลในตาราง วัยเด็กทารกเป็นวัยที่ต้องการโปรตีนสูงกว่าวัยอื่นๆ

ความต้องการพลังงานในแต่ละวัน


ในแต่ละวัน คนแต่ละคนต้องการอาหารไปเพื่อสร้างพลังงานไปใช้ในกิจกรรมต่างๆ โดยพลังงานที่ต้องการจะแตกต่างกัน ขึ้นกับ อายุ, เพศ, ระด้บกิจกรรมการใช้พลังงานของร่างกาย, อาชีพ เช่น นักกีฬาต้องการพลังงานมากกว่าคนทำงานนั่งโต๊ะ ส่วนใหญ่เพศชายในแต่ละช่วงอายุและในกลุ่มลักษณะความแอคทีฟในการใช้ชีวิตแบบเดียวกันจะต้องการพลังงานในแต่ละวันสูงกว่าเพศหญิง

ตารางแสดงความต้องการพลังงาน(แคลอรี)ของเพศหญิงในแต่ละวัน

อายุ Sedentary Moderately Active Active
4-8 1,200 1,400-1,600 1,600-1,800
9-13 1,600 1,600-2,000 1,800-2,200
14-18 1,800 2,000 2,400
19-30 2,000 2,000-2,200 2,400
31-50 1,800 2,000 2,200
51+ 1,600 1,800 2,000-2,200

ตารางแสดงความต้องการพลังงาน(แคลอรี)ของเพศชายในแต่ละวัน

อายุ Sedentary Moderately Active Active
4-8 1,400 1,400-1,600 1,600-1,800
9-13 1,800 1,800-2,000 2,000-2,600
14-18 2,200 2,400-2,800 2,800-3,200
19-30 2,400 2,600-2,800 3,000
31-50 2,200 2,400-2,600 2,800-3,000
51+ 2,000 2,200-2,400 2,400-2,800
หน่วยของพลังงาน

แคลอรี (Calorie)เป็นหน่วยวัดพลังงานอย่างหนึ่ง โดยมากจะใช้เป็นหน่วยวัดพลังงานอาหาร

  • 1 แคลอรี(cal) คือปริมาณความร้อนที่ทำให้น้ำจำนวน 1 กรัม มีอุณหภูมิเพิ่มขึ้น 1 องศาเซลเซียส
  • 1 กิโลแคลอรี(Kcal) คือปริมาณความร้อนที่ทำให้น้ำจำนวน 1 กิโลกรัม มีอุณหภูมิเพิ่มขึ้น 1 องศาเซลเซียส

แคลอรีที่เราเห็นบนฉลากโภชนาการ จริงๆแล้วคือ 1 กิโลแคลอรี ส่วน 1แคลอรีที่ทำให้น้ำ 1 กรัมมีอุณหภูมิเพิ่มขึ้น 1 องศาเซลเซียส จะใช้ในงานทางสาขาฟิสิกส์และเคมี

ชนิดสารอาหาร (1 กรัม) พลังงานที่ให้ (กิโลแคลอรี)
โปรตีน 4
คาร์โบไฮเดรต 4
ไขมัน 9
จากตาราง โปรตีนจำนวน 1 กรัมจะให้พลังงาน 4 กิโลแคลอรี
ถ้าโปรตีน 2 กรัมจะให้พลังงาน 8 กิโลแคลอรี
ทั้งนี้ไขมันให้พลังงานต่อกรัมมากที่สุดคือ 9 กิโลแคลรี

นอกจากแคลอรีแล้ว อาจจะวัดในหน่วยจูล (Joule)
1 จูล คือ จำนวนพลังงานที่ต้องการออกแรงจำนวน 1 นิวตันเป็นระยะทาง 1 เมตร
1 แคลอรี = 4.184 จูล



















--