วิทยาศาสตร์ระดับประถม สารบัญ




  1. โลกเราเป็นส่วนหนึ่งของ “ระบบสุริยะ (Solar System)” ซึ่งมีดวงอาทิตย์เป็นศูนย์กลาง
    ระบบสุริยะของเราเป็นส่วนหนึ่งของ “กาแล็กซีทางช้างเผือก (Milky Way)”
    กาแล็กซีทางช้างเผือกเป็นส่วนหนึ่งของจักรวาล หรือเอกภพ (Universe)
  2. ขนาดเรียงตามลำดับคือ ระบบสุริยะ < กาแล็กซีทางช้างเผือก < จักรวาล
  3. ระบบสุริยะ ประกอบด้วย ดวงอาทิตย์, ดาวเคราะห์, ดาวเคราะห์แคระ, ดาวเคราะห์น้อย, ดาวหาง
  4. นิยาม “ดาวเคราะห์” และ “ดาวเคราะห์แคระ”


    ดาวเคราะห์ (Planet) ดาวเคราะห์แคระ (Dwaf Planet)
    โคจรรอบดวงอาทิตย์ โคจรรอบดวงอาทิตย์
    มีมวลมากพอที่จะทำให้มีแรงดึงดูดทำให้มีรูปร่างทรงกลม มีมวลมากพอที่จะทำให้มีแรงดึงดูดทำให้มีรูปร่างทรงกลม
    มีวงโคจรชัดเจนไม่ทับซ้อนกับดาวเคราะห์ดวงอื่น มีวงโคจรทับซ้อนกับดาวดวงอื่น
    สามารถกวาดเทห์วัตถุในบริเวณข้างเคียงได้ ไม่สามารถกวาดเทห์วัตถุในบริเวณข้างเคียงได้
    ไม่ใช่ดวงจันทร์หรือบริวารของดาวเคราะห์อื่นๆ
  5. ดาวฤกษ์ คือ ดาวที่มีแสงในตัวเอง เช่น ดวงอาทิตย์
  6. ดาวเคราะห์ (Planet)
    • คือ ดาวที่ไม่มีแสงในตัวเอง
    • ในระบบสุริยะมีดาวเคราะห์อยู่ 8 ดวงได้แก่ (จากใกล้ดวงอาทิตย์สุดไปจนถึงไกลที่สุด)ดาวพุธ ดาวศุกร์ โลก ดาวอังคาร ดาวพฤหัส ดาวเสาร์ ดาวยูเรนัส และดาวเนปจูน
    • การจำแนกดาวเคราะห์
      • จำแนกตามโครงสร้างภายในของดาว
        ดาวเคราะห์หิน ได้แก่ ดาวพุธ ดาวศุกร์ โลก ดาวอังคาร
        ดาวเคราะห์แก๊ส ได้แก่ ดาวพฤหัส ดาวเสาร์ ดาวยูเรนัส ดาวเนปจูน
      • จำแนกตามวงโคจรของโลกเป็นเกณฑ์ ถ้าอยู่ใกล้ดวงอาทิตย์มากกว่าโลกจัดเป็นดาวเคราะห์วงในถ้าอยู่ห่างจากดวงอาทิตย์มากกว่าโลกจัดเป็นดาวเคราะห์วงนอก
        วงใน ได้แก่ ดาวพุธ ดาวอังคาร
        วงนอก ได้แก่ ดาวอังคาร ดาวพฤหัส ดาวเสาร์ ดาวยูเรนัส ดาวเนปจูน
      • ดาวเคราะห์ส่วนใหญ่หมุนทวนเข็มนาฬิกา คือจากทิศตะวันตกไปทิศตะวันออก ยกเว้นดาวศุกร์และดาวยูเรนัส
  7. ดาวเคราะห์แคระ
    • คือ ดาวชนิดหนึ่งที่มีลักษณะคล้ายดาวเคราะห์
    • มี 5 ดวง ได้แก่ พลูโต, ซีรีส, อีรีส, เฮาเมอา, มาคีมาคี
  8. ดาวเคราะห์น้อย
    • คือ วัตถุทางดาราศาสตร์ที่มีขนาดเล็กกว่าดาวเคราะห์ แต่ใหญ่กว่าสะเก็ดดาวและไม่ ใช่ดาวหาง
    • พบมากใน”แถบดาวเคราะห์น้อย” ซึ่งมีวงโคจรเป็นวงรีระหว่าง ดาวอังคาร-ดาวพฤหัส
  9. ดาวหาง
    • คือ วัตถุชนิดหนึ่งในระบบสุริยะ
    • องค์ประกอบหลักคือน้ำแข็งปะปนกับเศษหินและสสารอื่นๆ ซึ่งดาวหางกวาดชนขณะที่โคจรรอบดวงอาทิตย์
    • ส่วนใหญ่ มีวงโคจรเป็น “วงรี”
    • เมื่ออยู่ห่างจากดวงอาทิตย์จะเป็นเพียงก้อนน้ำแข็งที่ “ไม่มีหาง” เรียกว่า นิวเคลียส (ประกอบด้วยน้ำแข็ง คาร์บอนไดออกไซด์ มีเทน แอมโมเนีย โดยมีเปลือกแข็งห่อหุ้ม)
    • เมื่อเข้าใกล้ดวงอาทิตย์จะเกิดการ “ระเหิด” ด้านที่หันเข้าหาแสงอาทิตย์จะมีแก๊สประทุ ลอยออกมาห่อหุ้มนิวเคลียสที่เรียกว่า“โคมา (Coma)” ลมสุริยะจะประทะกับโคมาทำให้ปลิวยาวกลายเป็น “หาง”โดยหางจะอยู่ด้านตรงข้ามกับดวงอาทิตย์
    • ภาพแสดง โครงสร้างของดาวหางเฮลบอพพ์
      แหล่งที่มาของภาพ http://www.lesa.biz/astronomy/solar-system/small-bodies/comet

  10. อุกกาบาต
    • คือ วัตถุในอวกาศที่ผ่านชั้นบรรยากาศลงมาสู่โลก ตอนอยู่ในอวกาศ เรียกว่า สะเก็ดดาวตก
    • เมื่อเข้าสู่ชั้นบรรยากาศโลก จะเสียดสีกับอากาศเกิดการลุกไหม้ เรียกว่า “ดาวตก หรือ ผีพุ่งใต้”
    • ถ้าลุกไหม้ไม่หมดในชั้นบรรยากาศจะชนเข้ากับพื้นโลก เกิดเป็น “หลุมอุกกาบาต” ซึ่งดวงจันทร์พบหลุมอุกกาบาตมากเนื่องจากไม่มีชั้นบรรยากาศ

    เมื่อ 66 ล้านปีก่อน มีอุกกาบาตชื่อ ชิกซูลบ (Chicxulub) พุ่งชนโลกบริเวณเม็กซิโก จนทำให้สิ่งมีชีวิตถึงร้อยละ 75 ล้มตายและเป็นสาเหตุของการสูญพันธุ์ของไดโนเสาร์



















--