วิทยาศาสตร์ระดับประถม สารบัญ


อุณหภูมิ

  • อุณหภูมิของอากาศคือบอกความร้อนและควาเย็นของอากาศ
  • อุปกรณ์ที่ใช้วัดอุณหภูมิ คือ “เทอร์โมมิเตอร์”
  • หน่วยของอุณหภูมิ เช่น องศาเซลเซียส องศาฟาเรนไฮต์
  • ปัจจัยที่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิอากาศในรอบวัน คือ การหมุนรอบตัวเองของโลก ซึ่งมีผลทำให้มุมที่แสงอาทิตย์กระทบพื้นผิวโลกเปลี่ยนแปลงไป
    เวลาเที่ยงวัน เวลาเช้าและเย็น
    มุมที่แสงอาทิตย์ตกกระทบพื้นโลก มุมฉาก มุมเฉียง
    ระยะทางที่แสงอาทิตย์ส่องผ่านชั้นบรรยากาศ สั้น ไกลกว่า
    ความเข้มแสง เข้มกว่า เนื่องจากมุมตกกระทบเป็นมุมฉากและระยะทางที่แสงอาทิตย์ส่องผ่านบรรยากาศก็สั้นกว่า เข้มน้อยกว่า เนื่องจากมุมตกกระทบเป็นมุมเฉียง และแสงอาทิตย์เดินทางผ่านชั้นบรรยากาศนานกว่า ความเข้มของแสงจึงถูกชั้นบรรยากาศกรองให้ลดลง
  • พื้นดิน-พื้นน้ำ เป็น 1 ในปัจจัยที่มีผลต่ออุณหภูมิของอากาศ เนื่องจากดินดูดกลืนและคายความร้อนได้ดีกว่าพื้นน้ำ ตอนกลางวันพื้นดินจะมีอุณหภูมิสูงกว่าพื้นน้ำ ในขณะที่ตอนกลางคืนพื้นน้ำจะมีอุณหภูมิสูงกว่าพื้นดิน
  • ระดับความสูงของพื้นที่ เป็นอีกหนึ่งปัจจัยที่มีผลต่ออุณหภูมิของอากาศ ในส่วนของโทรโพสเฟียร์เอง ยิ่งสูง อุณหภูมิจะลดต่ำลง โดยลดต่ำลงด้วยอัตรา 6.5 องศาเซลเซียสต่อกิโลเมตร
  • ละติจูด เนื่องจากแสงอาทิตย์ตกลงทำมุมที่แตกต่างกัน บริเวณศูนย์สูตรแสงอาทิตย์จะตกเป็นมุมตั้งฉาก ในขณะที่ขั้วโลกจะตกเป็นมุมลาดเอียง ทำให้แสงเดินทางผ่านชั้นบรรยากาศเป็นระยะทางที่มากกว่า ความเข้มแสงจึงลดลงส่งผลให้อุณหภูมิแถบขั้วโลกต่ำลง

ความชื้น

  • ความชื้นของอากาศ หมายถึง จำนวนไอน้ำที่มีอยู่ในอากาศ
  • ไอน้ำในอากาศเกิดจากการระเหยของน้ำจากแหล่งต่างๆ และการคายน้ำ
  • อากาศที่อยู่ในสภาพที่ไม่สามารถรับไอน้ำเพิ่มได้ เรียกว่า อากาศอิ่มตัว
ความชื้นสัมบูรณ์ ความชื้นสัมพัทธ์
1.เป็นการบอกปริมาณไอน้ำที่มีอยู่ในอากาศปริมาตร 1 ลูกบาศก์เมตร (ลบ.ม) ที่อุณหภูมิหนึ่งๆ 1.เป็นการบอกปริมาณไอน้ำที่มีอยู่ในอากาศจริงเทียบกับปริมาณไอน้ำที่จะทำให้อากาศอิ่มตัวที่อุณหภูมิเดียวกัน
2.วัดเป็น มวลของไอน้ำต่อปริมาตรอากาศ 2.วัดเป็น %
3.ตัวอย่างเช่น ความชื้นสัมบูรณ์ที่ 10 กรัมต่อลบ.ม หมายถึง ถ้านำเรานำอากาศมาปริมาตร 1 ลบ.ม มานับจำนวนไอน้ำจะมีไอน้ำอยู่ 10 กรัม 3.ตัวอย่างเช่น ความชื้นสัมพัทธ์ที่ 50% หมายถึง อากาศมีปริมาณไอน้ำอยู่ที่ครึ่งหนึ่งของปริมาณไอน้ำที่อากาศรับได้
4.อากาศที่อุณหภูมิสูงจะสามารถรับไอน้ำได้มากกว่า อากาศที่มีอุณหภูมิต่ำ 4.อากาศอิ่มตัว คือ อากาศที่มีความชื้นสัมพัทธ์ 100%
5.ความชื้นสัมพัทธ์ที่เรารู้สึกสบายตัวอยู่ที่ 60%
6.ความชื้นสัมพันธ์ที่น้อยกว่า 60% จะรู้สึกแห้ง
7.ความชื้นสัมพัทธ์ที่มากกว่า 60% จะรู้สึกเหนียวตัวอึดอัด

ความกดอากาศ

  • ความกดอากาศหรือเรียกว่า “ความดันบรรยากาศ”
  • เนื่องจากมีชั้นอากาศห่อหุ้มโลก และอากาศเองเป็นสสารที่มีน้ำหนัก จึงกดทับลงมาด้วยอิทธิพล แรงโน้มถ่วง เราเรียกน้ำหนักกดทับลงมาว่า “ความกดอากาศ”
  • หน่วยของความกดอากาศ มิลลิเมตรปรอท, เฮกโตพาสคาล
  • ที่ระดับน้ำทะเลปานกลาง จะมีความกดอากาศอยู่ที่ 760 มิลลิเมตรปรอท (29.92 นิ้วปรอท)
  • ที่ความสูงระดับเดียวกัน จะมีค่าความกดอากาศที่เท่ากัน
  • ทุกๆความสูง 11 เมตรที่เพิ่มขึ้นจากระดับน้ำทะเลจะมีค่าความกดอากาศลดลง 1 มิลลิเมตรปรอท และ
    ทุกๆความลึก 11 เมตรที่เพิ่มขึ้นจากระดับน้ำทะเลจะมีค่าความกดอากาศเพิ่มขึ้น 1 มิลลิเมตรปรอท
  • ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความกดอากาศ
    • อากาศร้อนมีความหนาแน่นน้อยกว่าอากาศเย็น อากาศร้อนจึงมีความกดอากาศน้อยกว่าเรียกว่า “ความกดอากาศต่ำ”
    • อากาศเย็นมีความหนาแน่นมากกว่าอากาศร้อน อากาศเย็นจึงมีความกดอากาศมากกว่าเรียกว่า “ความกดอากาศสูง”
    • ความสูง ยิ่งสูง อากาศยิ่งเบาบาง ความกดอากาศน้อย

ลม



  • ลม คือการเคลื่อนที่ของอากาศในแนวนอนเป็นผลมาจากความแตกต่างระหว่างอุณหภูมิของ 2 บริเวณ
  • อากาศจะไหลจาก
    อุณหภูมิต่ำ---------> อุณหภูมิสูง
    ความกดอากาศสูง---------> ความกดอากาศต่ำ
  • ประเภทของลม ได้แก่
    • ลมประจำวัน
    • ลมประจำฤดู

ลมประจำวัน

ลมบก ลมทะเล

ในเวลากลางวัน ดินดูดความร้อนเร็วกว่าน้ำ อุณหภูมิเหนือดินจะสูงกว่าอุณหภูมิเหนือน้ำ ทำให้อากาศไหลจากทะเลสู่บนบก เรียกว่า “ลมทะเล”

ในเวลากลางคืน ดินคายความร้อนเร็วกว่าน้ำ อุณหภูมิเหนือดินจะต่ำกว่าอุณหภูมิเหนือน้ำ ทำให้อากาศไหลจากบนบกสู่ทะเล เรียกว่า “ลมบก”

ลมภูเขา ลมหุบเขา


ในเวลากลางวัน ยอดเขาได้รับแสงแดดมากกว่าในหุบเขาทำให้มีอุณหภูมิสูงกว่าอากาศจึงพัดจากหุบเขาขึ้นไปยังยอดเขาเรียกว่า “ลมหุบเขา”

ในเวลากลางคืน ยอดเขาจะเย็นกว่าหุบเขา อากาศจึงพัดจากยอดเขาไปสู่หุบเขา เรียกว่า “ลมภูเขา

ลมประจำฤดู

คือ ลมที่พัดเปลี่ยนทิศไปตามฤดูกาล

ลมประจำฤดูมี 2 ชนิด คือ

  1. ลมมรสุมฤดูร้อน
    • ลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้
    • พัดจากทิศใต้บริเวณมหาสมุทรอินเดียพัดเข้าสู่ตอนกลางทวีปเอเชีย
    • เป็นลมที่นำความชุ่มชื้นและไอน้ำทำให้เกิดฝนตก
  2. ลมมรสุมฤดูหนาว
    • ลมมรสุมตะวันออกเฉียงหนือ
    • พัดจากทิศตะวันออกเฉียงเหนือ สู่เอเชียใต้ เอเชียตะวันออกเฉียงใต้
    • เป็นลมที่พัดพาความหนาวเย็น

พายุ

  • พายุ คือ สภาพบรรยากาศที่ถูกรบกวน เกิดขึ้นเมื่อศูนย์กลางของแรงดันในอากาศต่ำลงมากกว่าบริเวณรอบๆพร้อมกับมีแรงดันอากาศสูงเกิดขึ้นรอบๆพื้นที่ ทำให้เกิดแรงประทะก่อให้เกิดลม
  • ประเภทของพายุ เช่น พายุหิมะ พายุลูกเห็บ พายุทราย พายุฝนฟ้าคะนอง พายุฤดูร้อน
พายุฝนฟ้าคะนอง
  • เป็นพายุที่มีปรากฎการณ์ฟ้าร้อง ลมแรง ฝนตกหนัก แต่ไม่ได้มีพายุลมหมุน
  • เกิดมากในแถบใกล้เส้นศูนย์สูตรที่มีอากาศร้อนและความชื้นสูง
  • เกิดในเมฆคิวมูโลนิมบัส
พายุหมุนเขตร้อน
  • พายุที่มีลมหมุน มักพบเกิดขึ้นในช่วงละติจูดที่ 5o - 30o
  • ถ้าเกิดเหนือเส้นศูนย์สูตร ทิศทางการหมุนวนของพายุจะหมุนทวนเข็มนาฬิกา โดยในแถบซีกโลกเหนือจะเกิดในช่วงเดือนมิถุนายน-พฤศจิกายน
  • ถ้าเกิดใต้ส้นศูนย์สูตร ทิศทางการหมุนวนของพายุจะหมุนตามเข็มนาฬิกา โดยในแถบซีกโลกใต้จะเกิดในช่วงเดือนพฤศจิกายน-เมษายน
  • ประเภทของพายุฤดูร้อน (ดูจากความเร็วใกล้ศูนย์กลางพายุ)
    ชนิด ความเร็ว
    ดีเปรสชั่น มีความเร็วลมไม่เกิน 33 นอต หรือไม่เกิน 61 กิโลเมตรต่อชั่วโมง
    พายุโซนร้อน มีความเร็วลมระหว่าง 34-64 นอต หรือ 62-117 กิโลเมตรต่อชั่วโมง
    ไต้ฝุ่น หรือเฮอริเคน มีความเร็วลมมากกว่า 64 นอต หรือ 118 กิโลเมตรต่อชั่วโมง
  • พายุหมุนเขตร้อนจะมีชื่อเรียกต่างๆ ตามสถานที่ที่เกิด
    • พายุหมุนเขตร้อนเกิดขึ้นบริเวณมหาสมุทรแปซิฟิก เรียกว่า “ไต้ฝุ่น”
    • พายุหมุนเขตร้อนเกิดขึ้นบริเวณ มหาสมุทรอินเดีย อ่าวเบงกอล เรียกว่า “ไซโคลน”
    • พายุหมุนเขตร้อนเกิดขึ้นบริเวณ มหาสมุทรแอตแลนติก อ่าวเม็กซิโก เรียกว่า “เฮอริเคน”
    • พายุหมุนเขตร้อนเกิดขึ้นบริเวณ มหาสมุทรรอบๆ ออสเตรเลีย จะรียกว่า “วิลลี-วิลลี”


















--